Last updated: 25 พ.ค. 2565 | 20308 จำนวนผู้เข้าชม |
ความแตกต่างระหว่าง Global Version กับ Chania Version
ก่อนที่เราจะไปดูว่า สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 5 กับ สายรัดข้อมือัจฉริยะ Mi Band 6 นั่นต่างกันอย่างไร ทางเราก็จะพาทุกคนไปดูกันก่อนว่า สินค้าที่เป็นตัว Global Version กับตัวที่เป็น CN Version ต่างกันอย่างไร และมันสำคัญอย่างไรกับการเลือกซื้อ สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 5 หรือ สายรัดข้อมือัจฉริยะ Mi Band 6 กันนะ และสำหรับข้อมูลของสินค้า Global Version กับ CN Version ที่ทางเราจะนำมาบอกกับผู้อ่านก็เป็นเพียงข้อมูลคร่าวๆ เพียงเท่านั้น หากผู้อ่านต้องการข้อมูลที่เชิงลึกแนะให้ทางผู้อ่านศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกทีค่ะ ซึ่งความแตกต่างของ Global Version กับ CN Version ก็จะมีดังตารางต่อไปนี้
ตารางเปรียบเทียบ ความแตกต่าง Global Version กับ CN Versionซึ่งถ้าสรุปง่ายๆเลยก็คือ สินค้า Global Version จะมีความเป็นสากลและใช้งานได้ง่ายหลากหลายประเทศกว่า CN version นั้นเอง
ความแตกต่างระหว่าง สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 5 กับ สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 6
ต่อไปเป็นเรื่องของความแตกต่างระหว่าง สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 5 กับ สายรัดข้อมือ Mi Band 6 ที่เป็นหัวข้อหลักของบทความนี้ ซึ่งจากภาพหน้าปกเราจะเห็นได้ชัดว่าหน้าจอของ Mi Band 6 นั่นใหญ่กว่า Mi Band 5 ค่อนข้างมาก เนื่องจากหน้าจอของ Mi Band 6 ที่ใหญ่ขึ้นจึงทำให้สามารถอ่านข้อความที่แจ้งเตือนที่หน้าจอได้ง่ายขึ้น และต่อไปเป็นส่วนของความเหมือนและความแตกต่าง ของ Mi Band 5 VS Mi Band 6 ซึ่งก็จะมีดังตารางต่อไปนี้
ตารางเปรียบเทียบความแตกต่าง ของ สายรัดข้อมืออัจริยะ Mi Band 5 VS Mi Band 6
ตารางเปรียบเทียสเปค ของ สายรัดข้อมืออัจริยะ Mi Band 5 vs Mi Band 6
และนอกจากที่กล่าวไปข้างต้นแล้วทั้ง สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 5 และ สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 6 ก็ยังมีฟังก์ชันอื่นๆอีกที่สามารถทำได้ เช่น การจับเวลา การตั้งนาฬิกาปลุก การดูนาฬิกาโลก เป็นต้น
เซ็นเซอร์ ของ สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 6
สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 6 จะมีเซ็นเซอร์ คือ
1. เซ็นเซอร์ Heart Rate
2. เซ็นเซอร์ SpO2
3. เซ็นเซอร์ 3-axis Accelerometer Barometer
4. เซ็นเซอร์ 3-axis Proximity
ซึ่งเซ็นเซอร์ของสายรัดข้อมือ Mi Band 6 เป็นเซ็นเซอร์แบบ 3 แกน จึงทำให้การตรวจวัดฟังก์ชันต่างๆ ในตัวของ สายรัดข้อมือ Mi Band 6 นั้นมีความแม่นยำมากกว่า สายรัดข้อมือ Mi Band 5
ฟังก์ชันที่เพิ่มเข้าในสายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 6
1. ติดตามออกซิเจนในเลือด หรือ SpO2
เป็นการวัดความความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด วิธีการวัดคือตัวเซ็นเซอร์จะวัดปริมาตรฮีโมโกบินที่มีออกซิเจนอยู่ในเลือดและแสดงผลออกมาเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ และตัวนี้ทาง Mi Band 6 เขาบอกว่าสามารถติดตามอาการโควิด19 เบื้องต้นได้อีกด้วย ซึ่งค่าออกซิเจนในเลือดที่ดีควรมีเปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 90-100% ถ้าต่ำกว่านี้ แนะนำให้ไปพบแพทย์
2. ติดตามคุณภาพการหายใจขณะนอนหลับ
ซึ่งตัวนี้ที่เพิ่มเข้ามาใน Mi Band 6 ยังเป็นคงตัวเบต้าอยู่เท่านั้น วิธีการทำงานคือการติดตามคุณภาพการหายใจขณะนอนหลับ เช่น ถ้าตอนเรานอนหลับเราหายใจไม่ดี, ขายใจติดขัด หรือ มีภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ ก็จะส่งผลให้เรารู้สึกเหนื่อย และรู้สึกง่วงนอนระหว่างวัน ซึ่งนอกจากนี้แล้วท่านอน, น้ำหนัก, การดื่มแอลกอฮอล์ และปัจจัยอื่นๆก็มีผลเช่นกัน ซึ่งฟังก์ชั้นนี้ที่ทาง Mi Band 6 เพิ่มเข้ามาก็เพื่อหวังว่าให้ผู้ใช้นั่นจะสร้างนิสัยที่ดีในการนอนนั่นเอง และค่าการหายใจขณะหลับที่ดีควรอยู่ที่ 90-100 แต้ม หากต่ำกว่านี้ก็ควรไปพบแพทย์
ฟังก์ชันที่สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 5 กับสายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 6 มีเหมือนกันแต่สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 6 ทำได้ดีกว่าเดิม
1. การติดตามความเครียด ของ สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 6
โหมดนี้เราทราบดีอยู่แล้วว่าที่สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 5 ก็มีเช่นกัน แต่ความแตกต่างก็คือ ที่ตัว Mi Band 5 นั้นต้องกดวัดดูความเครียดด้วยตัวเองถึงจะดูความเครียดได้ และถ้าต้องการเปิดให้วัดอัตโนมัติก็ทำได้แค่ตอนนอนเท่านั้น ส่วนของสายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi band 6 นอกจากจะวัดเองได้แล้ว เรายังสามารถตั้งให้ Mi band 6 วัดอัตโนมัติเวลานอนหลับได้แต่ต้องไปตั้งค่าที่ Zepp Life App ซึ่งเมื่อเปิดแล้ว Mi band 6 จะวัดความเครียดให้เราทุกๆ 5 นาที
2. การแจ้งเตือนที่หน้าจอสายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 6
เนื่องจากหน้าจอ Mi Band 6 มีความกว้างที่เพิ่มมากขึ้นกว่า Mi Band 5 จาก 1.2 นิ้ว เป็น 1.56 นิ้ว จึงทำให้เมื่อมีข้อความขึ้นแจ้งเตือนที่จอแบรนด์เราสามารถอ่านได้ชัดเจนมากขึ้น และถึงแม้ว่าเมนูการใช้งานของ Mi Band 6 จะไม่มีภาษาไทย แต่เมื่อมีการแจ้งเตือนเราสามารถอ่านภาษาไทยได้โดยที่คำไม่กระโดด
3. นาฬิกาปลุก ของ สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 6
ในเรื่องของนาฬิกาปลุกนั่นของ Mi Band 5 ไม่สามารถตั้งนาฬิกาปลุกที่ตัวสายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 5 ได้ ตั้งได้แค่ผ่านทาง แอพ Mi Fit เท่านั้น แต่ของ Mi Band 6 นั่นสามารถตั้งนาฬิกาปลุกที่หน้าจอสายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 6 ได้เลย หรือ จะไปตั้งที่ แอพ Mi Fit ในมือถือก็ได้เช่นกัน
อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ของ สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 6
-อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ถ้าใช้งานหนักอยู่ได้ ประมาณ 5 วัน
-อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ถ้าใช้งานโหมดปกติอยู่ได้ ประมาณ 14วัน
-อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ถ้าใช้งานในโหมดประหยัดพลังงานอยู่ได้ ประมาณ 19
โหมดออกกำลังกาย ของ สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 6
ซึ่งเราทราบดีกันอยู่แล้วว่า สายรัดข้อมืออัจริยะ Mi Band 5 นั้นมี โหมดออกกำลังกายมาให้เรา 11 โหมด และสายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 6 มีให้เราถึง 30 โหมด เราเองก็คงอยากจะทราบว่า แล้ว 30 โหมดมันมีอะไรบ้างละ ซึ่ง 30 โหมดก็จะมีดังต่อไปนี้
ตารางรางเปรียบเทียบความแตกต่าง ของโหมดออกกำลังสายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 5 vs Mi Band 6
ความรู้สึกหลังจากลองใช้งาน สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 5 กับ สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 6
หลังจากได้ทดลองใช้สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 5 กับ สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 6 แล้วถ้าใครที่เคยได้ใช้ Mi Band 5 จะทราบดีว่าที่หน้าจอของ Mi Band 5 จะมีปุ่มโฮมสำหรับกดออกจากแอพต่างๆในสายรัดข้อมือ และที่จอสายรัดข้อมือ Mi Band 5 ก็จะแสดงผลแอพการใช้งานต่างๆเพียงแค่แค่ 1 แอพเท่านั้น
, แต่สำหรับสายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 6 ที่หน้าจอ Mi Band 6 จะไม่มีปุ่มโฮมสำหรับปิดแอพเหมือน Mi Band 5 แล้ว เมื่อเราต้องการกดออกจาดแอพที่ Mi Band 6 เราต้องปัดขวาเพื่อออก และเนื่องจากหน้าจอ Mi Band 6 ที่ใหญ่ขึ้นการแสดงของแอพบนหน้าจอ Mi Band 6 จึงแสดงได้ 2 แอพพร้อมกันเลย หรือถ้าเลื่อนดีๆก็จะแสดงได้ถึง 3 แอพ และหน้าจอก็จะมีความไหลลื่นมากกว่าหน้าจอของ Mi Band 5 ถ้าใครที่เคยใช้ Mi Band 5 มาก่อนจะมาใช้ Mi Band 6 ก็อาจจะต้องเข้าใช้งานแอพที่หน้าจอบ่อยๆเพื่อที่เราจะได้ชินมือเร็วๆนั่นเองค่ะ
บทความเพิ่มเติม
1. วิธีการใช้งานพร้อมวิธีการตั้งค่า สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 5
2. วิธีการใช้งานพร้อมวิธีการตั้งค่า สายรัดข้อมืออัจฉริยะ Mi Band 6
ช่องทางกาติดต่อ