วิธีรับมือลมชักในเด็ก รู้ก่อน รักษาทัน ปลอดภัยมากกว่า

Last updated: 30 ม.ค. 2567  |  795 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วิธีรับมือลมชักในเด็ก รู้ก่อน รักษาทัน ปลอดภัยมากกว่า

        คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองท่านใดที่มีบุตรอายุระหว่าง 5-10 ปี หรือไม่เกิน 18 ปี ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมแปลก ๆ ของลูกอย่างใกล้ชิด หากลูกของคุณมีอาการเหม่อลอย หรือมีความบกพร่องด้านสติปัญญา การเรียนรู้ที่แย่ลง ซน ไม่อยู่นิ่ง หรือมีพฤติกรรมแบบออทิสติก ควรดูแลและขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน เพราะลูกของคุณอาจเสี่ยงมีอาการ ลมชักในเด็ก หรืออาการชักที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของสมอง ซึ่งหากมีการถูกกระตุ้นมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการชักได้ วันนี้เราเลยขออาสามาแชร์สาระน่ารู้เกี่ยวกับอาการลมชักในเด็กให้ผู้ปกครองทั้งหลายได้ทราบเกี่ยวกับอาการ สาเหตุ และแนวทางในการรักษาเบื้องต้น เพื่อเป็นความรู้และแนวทางป้องกันในการเกิดความอันตรายที่รุนแรงได้

อาการลมชักในเด็ก

โรคลมชักในเด็กเกิดจากคลื่นไฟฟ้าในสมองที่มีความผิดปกติ โดยทั่วไปแล้วโรคลมชักมีทั้งลมชักแบบที่ชักเกร็งทั้งตัว และลมชักแบบที่เหม่อลอย ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อร่างกายเด็ก ไม่ว่าจะเป็นด้านการเคลื่อนไหว การรับรู้ ความจำ พฤติกรรมและอารมณ์ ตลอดจนถึงการพัฒนาการ และการเข้าสังคมของเด็กในอนาคต

สาเหตุของโรคลมชัก

จากการวินิจฉัยทางการแพทย์ โรคลมชักเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ความผิดปกติของโครงสร้างสมอง เส้นเลือด หรือเนื้องอกในสมอง หรือความผิดปกติทางพันธุกรรม รวมถึงภาวะแทรกซ้อนก่อนคลอดของมารดา และโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองที่ล้วนแล้วขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่ในบางรายแพทย์ก็ยังไม่สามารถระบุถึงสาเหตุของการเกิดโรคได้

วิธีรับมือเมื่อเด็กมีอาการ

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจรู้สึกตกใจและไม่ทราบว่าควรช่วยลูกอย่างไรดี สิ่งแรกที่ควรทำเลยก็คือ การตั้งสติ และนำเด็กไปอยู่ในที่โล่ง โปร่ง หรือพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก หลังจากนั้นให้เด็กนอนราบลงกับพื้น พร้อมตะแคงศีรษะไปด้านข้าง เพื่อไม่ให้เกิดการสำลัก ในกรณีที่เด็กตัวเกร็ง งอ ไม่ควรไปบีบหรือนวด และหลีกเลี่ยงการใช้ช้อนหรือวัตถุอื่น ๆ เข้าไปงัดปาก คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกอย่างใกล้ชิด และรีบนำไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

การรักษาโรคลมชักในเด็ก

การรักษาโรคลมชักในเด็กสามารถรักษาได้ 2 วิธีคือ การรักษาโดยใช้ยากันชักตามความเหมาะสมของอาการและชนิดของการชัก หรือรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น การผ่าตัด หรือการกินอาหารคีโต ในกรณีที่รักษาด้วยการให้ยาแล้วไม่เห็นผล

ทั้งหมดนี้ก็เป็นสาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคลมชักในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการ สาเหตุ และวิธีการรับมือเบื้องต้นในฉบับแบบเข้าใจง่าย เพื่อลดความรุนแรงหรืออันตรายที่อาจเกิดต่อเด็กในด้านต่าง ๆ ได้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้